ปัดฝุ่น บทเรียนสำเร็จรูป ยุค โควิด
บทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อสำหรับเรียนด้วยตนเอง
อาจใช้สำหรับศึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม ซึ่งอาจจะพบว่ามีชื่อเรียกแตกต่างกันไป
ตามลักษณะของการนำไปใช้ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป แบบเรียนสำเร็จรูป บทเรียนโปรแกรม
โปรแกรมการสอน แบบเรียนด้วยตนเอง เป็นต้น ถึงแม้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
แต่ลักษณะโดยทั่วไปของบทเรียนสำเร็จรูปมีความคล้ายคลึงกัน
คือเป็นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้วิธีหนึ่ง
ความหมาย
บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง
บทเรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในแต่ละสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละบทเรียน โดยเริ่มจากเนื้อหาสาระที่ง่าย ๆ
ไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นไปตามลำดับ เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดวัตถุประสงค์
เนื้อหา วิธีการ และสื่อการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า
และประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
จุดมุ่งหมายของบทเรียนสำเร็จรูป
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มความสามารถ
โดยครูคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนมีปัญหา
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามลำดับขั้น
จากง่ายไปหายาก
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเอง
และทราบถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของตนเอง
4. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ
เมื่อประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม
หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง
และรู้คำตอบได้ทันที
3. มีการเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง
และมีความพยายามที่จะแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ
จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของ แต่ละคน
ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป
ลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป คือ
การออกแบบการบรรจุเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ออกเป็น กรอบ (Frame) ซึ่งเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ดังกล่าวนั้นจะนำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย
ๆ แล้วบรรจุเนื้อหาสาระการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ ดังกล่าวลงไปในกรอบแต่ละกรอบให้มีความสัมพันธ์และเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก
กรอบสาระการเรียนรู้ (Frame) ในแต่ละกรอบของบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย
1. การอธิบายเนื้อหา
2. แบบประเมินผลก่อนเรียน
3. เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้
4. คำถาม
5. เฉลยคำตอบ
6. แบบประเมินผลหลังเรียน
ชนิดของกรอบในบทเรียนสำเร็จรูป
กรอบสาระการเรียนรู้ในบทเรียนสำเร็จรูปกำหนดไว้ 4 ชนิด
ดังนี้
1. กรอบตั้งต้น (Set
Frame) เป็นกรอบที่เป็นเสมือนกรอบนำเข้าสู่บทเรียน
ในกรอบนี้จะเป็นข้อมูลการเรียนรู้หลักการ ทฤษฎี และคำถามง่าย ๆ ที่กำหนดให้ผู้เรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง
ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้กำลังใจหรือเสริมแรงให้มีความสุขกับการเรียนรู้
2. กรอบฝึกหัด (Practice
Frame) เป็นกรอบที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกหัดทำกิจกรรมที่มีเนื้อหาสาระเชื่อมโยงมาจากรอบตั้งต้น
ในกรอบฝึกหัดนี้เป็นกรอบสำหรับการฝึกทักษะเช่น การอ่าน การคิด การวิเคราะห์
และการเขียน ซึ่งเนื้อหาสาระการเรียนรู้จะเพิ่มมากขึ้นกว่ากรอบตั้งต้น
3. กรอบรองกรอบส่งท้าย
(Sub-Terminal Frame) เป็นกรอบการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงกรอบการเรียนรู้
สรุป ที่ผู้เรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้มาตามลำดับ โดยมีเนื้อหาสาระที่เข้มข้นขึ้นทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนใกล้จะสรุปองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากบทเรียนสำเร็จรูปได้อย่างชัดเจนถูกต้อง
4. กรอบส่งท้าย (Terminal
Frame) เป็นกรอบสาระการเรียนรู้สรุปสุดท้าย
หรือกรอบจบของบทเรียนสำเร็จรูป เป็นกรอบที่มีเนื้อหาสาระเข้มข้น
และยากกว่ากรอบสาระการเรียนรู้อื่นที่ผ่านมา
ชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป
ในปัจจุบันบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 3
ชนิด ได้แก่
1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง
(Linear Program)
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา
(Branchine Program)
3. บทเรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ
บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (Linear
Program)
บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงจะจัดทำเป็นกรอบเนื้อหาสาระเรียงลำดับไว้ตั้งแต่กรอบที่
1-2-3… จนถึงกรอบจบ ตามที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้
กิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง
การเรียนรู้ตามบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง
ผู้เรียนจะเริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้ในกรอบเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ 1-2-3-4
หรือมากกว่านี้ตามลำดับต่อเนื่องกันไปจนถึงกรอบเนื้อหาสาระสุดท้ายซึ่งเป็นกรอบจบ
มีคำถามเสมอว่าการเรียนรู้ตามบทเรียนสำเร็จรูปจะเรียนรู้ข้ามกรอบได้หรือไม่
คำตอบก็คือไม่ได้ เพราะผู้สอนได้ออกแบบเนื้อหาสาระการเรียนรู้จากง่ายไปหายาก
ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะสานสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไป
ถ้าข้ามกรอบการเรียนรู้ใดกรอบการเรียนรู้หนึ่ง เนื้อหาสาระจะขาดหายไป
การเรียนรู้ก็จะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ลักษณะเด่นของบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงก็คือผู้เรียนเก่งจะเรียนรู้ได้เร็วและจบเร็ว
การทำบทเรียนก็ง่าย เพราะแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้จะบรรจุเนื้อหาสาระไม่มากนัก
- บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา (Branchine Program)
บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขาเป็นบทเรียนที่มีการจัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้
เป็นกรอบการเรียนรู้หลัก (กรอบยืน) เหมือนบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง
แต่มีความแตกต่างเพิ่มเติมตรงที่นอกจากจะมีกรอบสาระการเรียนรู้หลักแล้ว
จะมีกรอบสาระการเรียนรู้สาขาเพิ่มเติมหรือกรอบสาระการเรียนรู้สาขาเข้ามา
กรอบสาระการเรียนรู้สาขา
กรอบสาระการเรียนรู้สาขาเป็นกรอบที่มีเนื้อหาสาระการเรียนรู้พื้นฐานเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนที่ยังขาดความพร้อมยังไม่เข้าใจเนื้อหาสาระหรือยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ในกรอบต่อไปในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้หลัก
จะมีกรอบสาขาการเรียนรู้ 1 หรือ 2 กรอบเสมอ
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนที่ตอบคำถามผิดพลาดได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมในกรอบสาระการเรียนรู้สาขา
บทเรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ
บทเรียนสำเร็จรูปแบบไม่แยกกรอบ
เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่มีการนำเสนอเนื้อหาสาระเพิ่มขึ้นทีละน้อยตามลำดับขั้น
ในบทเรียนจะมีแบบทดสอบและแบบเฉลยให้ตรวจสอบได้ในทันทีเหมือนบทเรียนสำเร็จรูปแบบที่
1-2 หากแต่การนำเสนอเนื้อหาสาระไม่นำเสนอในรูปของกรอบ
เนื้อหาที่นำเสนอต้องต่อเนื่องกัน เหมือนกับการเขียนตำราหรือบทความ
บทเรียนสำเร็จแบบไม่แยกกรอบนี้เป็นนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชใช้อยู่ในปัจจุบัน
ได้แก่ บทเรียนหรือตำราที่ให้นักศึกษาได้ศึกษาด้วยตนเอง โดยมีองค์ประกอบดังนี้
หน่วยที่………………………………………………………………..
เรื่อง ………………………………………………….………………………………………………..
หัวข้อเรื่อง
1. …………………………………………………………….………………………………
2. …………………………………………………....………….…………………………….
3. ………………………………………………………..……………………………………
ความนำ
……………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………..
……………………………..…………………………………..............……………………………..
……………………………..…………………………………..............……………………………..
สาระสำคัญ
1. …………………………………...……………………….………………………………..
2. ………………………………………………………………………………………………
3. ………………………………………………………………………………….…………..
จุดประสงค์
1. ……………………………………….……………………………………………….…..
2……………………………………………………………………………………….……..
3. ……………………………………………………….……………………………………
แบบทดสอบก่อนเรียน
เนื้อหา
1. ……………………………………………………………………………………………
1.1 …………………………..……………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
1.2 …………………………………………………….………………………………...….………. ……………………………………………………………………………………….
กิจกรรมที่ 1
…………………………………………………………………….………………………….……………….………………………………………………..…………………………………….
…………………………………………………………………….………………………….……………….………………………………………………..…………………………………….
แนวตอบ
………………………………………………………….…………………………………..………….……………………………………………………………….…………………………..
………………………………………………………….…………………………………..………….……………………………………………………………….…………………………..
กิจกรรมที่ 2
…………………………………………………….…………………………………………..
……………………………………………………………..………………………………………..
…………………………………………………….…………………………………………..
……………………………………………………………..………………………………………..
แนวตอบ
…………………………………………………..……………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………..……………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………….
ฯลฯ
สรุป ……………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………..…………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………..…………………………………………………………………………….
แบบฝึกหัด
……………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………….……………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………….……………………………………………………………………………….
แนวตอบ
…………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………..………………………………………………………………..………………
แบบทดสอบหลังเรียน…………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………..………………………………………………………………..………………
…………………………………………………..………………………………………………………………………....
…………………………………………………………..……………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
1 ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น