Breaking News

กรอบแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตามหนังสือ ที่ ศธ 0206.7/ว 4 สำนักงาน ก.ค.ศ. ลงวันที่ 24 มีนาคม 2563
เรื่อง กรอบแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


กรอบแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล จําแนกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่
Management (M)
1. ประเภทอํานวยการ
2. สายงานบริหารการศึกษา
3. สายงานบริหารสถานศึกษา
Academic (A)
1. ผู้อํานวยการกลุ่มในหน่วยงานการศึกษา
2. สายงานวิชาการศึกษา
3. สายงานนิเทศการศึกษา
Service (S)
1. สายงานการสอน
2. บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) (ยกเว้น สายงานวิชาการศึกษา และสายงาน
   วิชาการคอมพิวเตอร์)
Technologist (T)
สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ศักยภาพ และทักษะด้าน
เทคโนโลยีดิจิทัล ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน
การศึกษา
คํานิยามของแต่ละกลุ่ม
ในระยะเริ่มแรกของการพัฒนา กําหนดคํานิยามของแต่ละกลุ่มตามที่ ก.พ. กําหนด ดังนี้
Management (M) ผู้อํานวยการกอง กําหนดว่า เป็น “ผู้ปรับเปลี่ยนกระบวนงานด้านดิจิทัล ในกระบวนการทํางานหรือการให้บริการ” สามารถนํานโยบายและทิศทางองค์กรจากผู้บริหารระดับสูง มากําหนด เป็นแนวทางและแผนการดําเนินงานของหน่วยงาน ทบทวนและพัฒนากระบวนการ วิธีการทํางาน หรือการบริการ ให้สามารถรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้
-         Academic (A) ผู้ทํางานด้านนโยบายและวิชาการ กําหนดว่า เป็น “ผู้ใช้ข้อมูลดิจิทัลที่ทันสมัย” ที่สามารถวิเคราะห์และใช้ข้อมูลรวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการนําเสนอทางเลือกเชิงนโยบาย การกําหนด แผนงาน โครงการ ข้อเสนอทางวิชาการที่สอดคล้องกับทิศทางและยุทธศาสตร์องค์กร รวมทั้งมีความเข้าใจระบบข้อมูล สามารถจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนํามาแลกเปลี่ยนหรือเรียกใช้ได้อย่างสะดวก
Service (S) ผู้ทํางานด้านบริการ กําหนดว่าเป็น “ผู้ให้บริการดิจิทัลภาครัฐ” ที่สามารถใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลในการให้บริการ ให้ความช่วยเหลือ หรืออํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน หรือผู้รับบริการทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน ทั้งที่เป็นบริการหลักของหน่วยงาน และการบริการของหน่วยงานอื่นที่มีการเชื่อมโยง ข้ามหน่วยงาน รวมทั้งสามารถให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาคุณภาพการบริการที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้
Technologist (T) ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล กําหนดว่าเป็น “ผู้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ของหน่วยงาน” ที่สามารถบริหารโครงการ หรือเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาพัฒนาแพลตฟอร์มการบริหารจัดการ ภายในองค์กร และการจัดบริการของรัฐ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทํางาน การบริหารจัดการ และรูปแบบการให้บริการ ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล การทํางานและการให้บริการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง และระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชน ตลอดจนสามารถดูแล บํารุงรักษาระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีเสถียรภาพ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปได้
ทิศทางการดําเนินงาน
ภายในปี 2565 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถปรับตัว มีทักษะและศักยภาพ ที่เหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ดังนี้
ระยะเริ่มต้น(Early Stage)  ให้หน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมสู่การเชื่อมโยง และบูรณาการข้อมูลภายในส่วนราชการระดับกระทรวง เปลี่ยนกระบวนการทํางานและการให้บริการ
ระยะกําลังพัฒนา(Developing Stage)  ให้หน่วยงานมีการทํางานที่เชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูล ข้ามหน่วยงาน ปรับปรุงวิธีการการดําเนินงานใหม่ เปลี่ยนรูปแบบการทํางานขององค์กร
ระยะพัฒนาแล้ว(Mature Stage) ให้การทํางานระหว่างภาครัฐเชื่อมโยงและบูรณาการ  เหมือนเป็นองค์กรเดียวกัน สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
ประเด็นการพัฒนา
ในระยะเริ่มแรก ให้ทุกกลุ่มต้องมีพื้นฐานการพัฒนา ดังนี้
1. มิติการเรียนรู้
    มิติที่ 1 รู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีเป็น (Digital Literacy) 9 ด้าน ดังนี้
1) การใช้งานคอมพิวเตอร์
2) การใช้งานอินเทอร์เน็ต
3) การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย
4) การใช้โปรแกรม ประมวลคํา
5) การใช้โปรแกรมตารางคํานวณ
6) การใช้โปรแกรมการนําเสนองาน
7) การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล
8) การทํางานร่วมกันแบบออนไลน์ และ
9) การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย
2 มิติการเรียนรู้
   มิติที่ 2 เข้าใจนโยบาย กฎหมายและมาตรฐาน
รูปแบบการฝึกอบรม 70 : 20 : 10
70 หมายถึง การเรียนรู้ด้วยการพัฒนาตนเองและเรียนรู้จากการปฏิบัติงานด้วยวิธีการที่หลากหลาย
เช่น การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ เป็นต้น
20 หมายถึง การเรียนรู้จากผู้อื่นและการสอนงาน เช่น การให้คำปรึกษาแนะนํา การฝึกงานกับผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
10 หมายถึง การเรียนรู้จากการฝึกอบรม ในรูปแบบที่หลากหลายและเน้นการฝึกปฏิบัติมากกว่าการบรรยายให้ลดการบรรยาย และเพิ่มการเรียนรู้ในรูปแบบอื่น
แนวทางการขับเคลื่อน
ให้ส่วนราชการกําหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
1. ส่งเสริม สนับสนุน จัดเตรียมงบประมาณ สร้างบรรยากาศการทํางานในรูปแบบดิจิทัล อุปกรณ์และเครื่องมือดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาในสังกัด
2. วางแนวทางการดําเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล
3. กํากับ ติดตาม ผลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการคโละบุคลากรทางการศึกษา


สำหรับผู้สนใจ ศึกษา/ อบรม ด้วยตนเอง สามารถเข้าอบรม ได้ที่  Thai MOOC หัวข้อ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Literacy)  รหัส CMU011   <<<<<คลิ๊ก

สำหรับผู้สนใจ ศึกษา/ อบรม ด้วยตนเอง สามารถเข้าอบรม ได้ที่  Thai MOOC หัวข้อ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Literacy)  รหัส CMU011


2 ความคิดเห็น

iliaulrey กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
bashigadahle กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก