การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก และ สังคม
🌎 กระแสโลก คือ
ความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีความต่อเนื่อง เป็นภาพกว้างของการเปลี่ยนผ่าน
🌎 บริบทโลก คือ
สภาพการณ์หรือสภาพแวดล้อมของโลก
กระแสโลกมีจุดเน้นที่คลื่นของความเปลี่ยนแปลง
เป็นการเปลี่ยนผ่านแต่ละช่วง ส่วนบริบทโลกมีจุดเน้นที่สถานการณ์หรือสภาพการณ์หรือเหตุการณ์สภาพแวดล้อมของโลก
ทำให้มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงระหว่างประเทศ
โลกาภิวัตน์นับเป็นกระแสโลกและบริบทโลกร่วมสมัยที่สำคัญ
มีการถือกำเนิด พัฒนาการ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายประการ
ส่งผลต่อตัวแสดงระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง
แนวคิดทฤษฎีโลกาภิวัตน์
ที่สำคัญ แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแนวคิดสนับสนุนโลกาภิวัตน์
กับกลุ่มแนวคิดต่อต้านโลกาภิวัตน์
กลุ่มที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์มองว่าโลกาภิวัตน์เป็นประโยชน์กับรัฐชาติและตัวแสดงระหว่างประเทศอื่น
กับกลุ่มที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์ มองว่ากระแสโลกาภิวัตน์เป็นปัญหาและอุปสรรคกับรัฐชาติและตัวแสดงระหว่างประเทศอื่น
🌎 คลื่นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
(Wave Revolution)
จากแนวคิดของ
Alvin Tofler (นักอนาคตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ
The Third Wave) กล่าวถึงคลื่นการเปลี่ยนแปลง
โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงที่สำคัญ ดังนี้
⏰ คลื่นลูกที่ 1 การปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) นับตั้งแต่ในช่วงปลายยุคหินใหม่
มนุษย์ในยุคนั้นได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเร่ร่อน ล่าสัตว์
และเก็บพืชผลไม้ป่าเป็นอาหารมาเป็นการเริ่มเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีการตั้งบ้านอาศัยอยู่เป็นหลักแหล่ง
มีรูปแบบเป็นอารยธรรม ปัจจัยแห่งยุคนี้คือ ที่ดิน ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำแห่งยุค
คือ ขุนพล ผู้กุมอำนาจทางการทหาร
เพื่อปกป้องทรัพยากรและหาแหล่งทรัพยากรใหม่ให้สังคมของตน ยุคนี้เป็นยุคที่พ่อค้านักธุรกิจ
จะอาศัยบารมีของผู้นำทัพ เพื่อให้ตนมีอำนาจทางธุรกิจ เหนือกว่าคนอื่น
ขณะเดียวกัน ขุนพลก็ต้องการพ่อค้าเพื่อเลี้ยงดูตนและกองทัพ
⏰คลื่นลูกที่ 2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial
Revolution) เกิดขึ้นจากปัญญาชนในยุคนี้ปฏิเสธความคิดความเชื่อที่เกิดจากศรัทธาในศาสนาของยุคกลางช่วงคริสต์ศตวรรษที่
18 นำไปสู่การให้ความสำคัญในเรื่องผลิตผลและประสิทธิภาพ
การหาวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและความเจริญก้าวหน้า
นิยมการค้นหาความจริงโดยหลักของเหตุและผล มองโลกในแง่ดีเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์
นำความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ไปอธิบายปัญหาสังคม
โดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นผู้นำ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
แบบแผนการทำงานในโรงงานยังเข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมในครัวเรือน
ซึ่งต้องนำงานมาส่งให้แรงงาน อันทำให้รูปแบบของสินค้า แรงงาน
และสถานที่ทำงานเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยพลังงานและเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ถ่านหิน
และไอน้ำ ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก มาเป็นพลังงานไฟฟ้า เคมี
และน้ำมัน โลกเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมมีการสร้างถนนและสาธารณูปโภค
การเดินทางไปมาหาสู่กันมีมากขึ้นเนื่องจากการคมนาคมสะดวกขี้น
ภาษาท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในขณะที่ผู้คนหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาสากล
เพื่อง่ายและมีประสิทธิผลในสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ทหารจะซ่อนอยู่เบื้องหลังนายทุน
พ่อค้า นักธุรกิจ
⏰คลื่นลูกที่ 3 การปฏิวัติสารสนเทศ (Information
Revolution) เป็นยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งได้แก่
ระบบคอมพิวเตอร์สารสนเทศและกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเกิดจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ
เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น
ที่มุ่งแปรสภาพจากสังคมเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Industrial Economy) ไปเป็นสังคมเศรษฐกิจบริการ (Service
Economy) โดยเป็นการผลิตที่ใช้สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น
และมีการใช้นโยบายกีดกันการค้าเข้าแทนที่นโยบายการค้าเสรีที่เคยใช้มาก่อน
รวมทั้งใช้นโยบายเสรีนิยมทางการเงิน (Financial Liberalize) ทำให้ทุนและเงินตรากลายเป็นปัจจัยการผลิตที่ไร้เชื้อชาติและสัญชาติ
และสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศโดยเสรีโดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำให้การลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างประเทศมีความสำคัญแซงหน้าการลงทุนโดยตรง
ปัจจัยแห่งยุคคือ ข้อมูลมีเครื่องมือคือ IT (Information Technology) สิ่งต่างๆ
ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลก่อนจะได้เปรียบในการแข่งขัน
ตัวอย่างง่ายๆ
⏰คลื่นลูกที่ 4 การปฏิวัติความรู้ (Knowledge
Revolution) เป็นยุคสมัยแห่งการสร้างสังคมแห่งองค์ความรู้
โดยเน้นในปัจจัยคือ ความรู้ (Knowledge) เครื่องมือคือ
ศาสตร์วิทยาการในแขนงต่างๆ เช่น nanotechnology,
biotechnology, pharmaceutical เป็นต้น
ยุคนี้จะมีการใช้ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกเฉพาะตนที่มากขึ้น
มีการบูรณาการความรู้และใช้ปัญญา เพื่อให้เกิดความแตกต่างหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง
🌎 ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลก
ความเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองข้ามพรมแดนของรัฐที่เป็นการเมืองระหว่างประเทศ เป็นความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกหลังสงครามเย็นในทศวรรษที่ 1990 นับเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากการรวมเยอรมนี การประกาศจัดระเบียบโลกใหม่ สงครามระหว่างอิรักกับคูเวต การล่มสลายของสหภาพโซเวียต การสลายตัวขององค์การวอร์ซอ ความเปลี่ยนแปลงในยุโรปตะวันออก ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของสหรัฐอเมริกา การขยายอำนาจและอิทธิพลของจีน การกำหนดนโยบายสี่ทันสมัยของจีน ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การโจมตีตึกเวิร์ลเทรดและเพนตากอนของกลุ่มอัลเคด้า และการประกาศลัทธิบุชและสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
🌎 ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านเศรษฐกิจ
ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านเศรษฐกิจจากโลกาภิวัตน์ทางด้านเศรษฐกิจมาจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่มุ่งเน้นหลักการสามประการ ประกอบด้วย เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยืดหยุ่น และมีจุดเริ่มต้นจากฉันทามติวอชิงตันของจอห์น วิลเลียมสัน ที่มีสาระส าคัญ ประกอบด้วย วินัยทางการคลัง การจัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายของรัฐบาล การปฏิรูปภาษีอากร อัตราดอกเบี้ย อัตราการแลกเปลี่ยน การเปิดเสรีด้านการค้าระหว่างประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจการลดการควบคุมและก ากับจากรัฐ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
🌎 ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านสังคม
การขยายตัวของเทคโนโลยีการสื่อสารท าให้เกิดการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศโดยทั่วไปก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เป็นหมู่บ้านโลก และครอบครัวโลก ประเทศหลายประเทศก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเพราะคนรุ่นใหม่มีบุตรลดลง การเป็นสังคมที่มีเพศที่หลากหลาย การเติบโตของคนรุ่นเจนวาย (Generation-Y)และการเริ่มมีบทบาททางสังคมของคนรุ่นเจนแซด (Generation-Z) การมีวัฒนธรรมประชานิยม ค่านิยมวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งท้าทายต่อการสร้างเอกลักษณ์แห่งชาติของรัฐชาติโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดปัญหาสังคมระหว่างประเทศภายหลัง ที่สำคัญ คือ ความขัดแย้งทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และภัยธรรมชาติ
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น